ที่ตั้งสาขา
Menu
TH EN
094 678 2888

ไฟหน้ารถ:รู้นิสัยไว้??สยบความมืด!!

หมวดหมู่: ความรู้คู่รถ | 11 มิถุนายน 2561 | จำนวนเข้าชม (7,890)

 

เมื่อเปลี่ยนหลอดไม่ควรเพิ่มวัตต์ที่สูงเกินกว่าที่ระบุไว้หลังโคมไฟหน้า เพราะเมื่อวัตต์สูงขึ้นสว่างมากขึ้น ความร้อนก็มากขึ้นด้วย และจะส่งผลให้บั่นทอนอายุตัวโคมไฟและขั้วหลอดให้เสียหายได้

 

หลายๆ ท่านที่ใช้รถคันเก่งมาเป็นระยะเวลานานๆ คงต้องพานพบกับปัญหาไฟหน้ารถไม่สว่าง-สว่างน้อย จนทำให้ทัศนะวิสัยการขับขี่ยามมืดค่ำลดลง จนอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้จากสถิติอุบัติเหตุส่วนใหญ่ มักจะเกิดขึ้นในยามค่ำคืน ดังนั้น กฎหมายจึงกำหนดให้เปิดไฟหน้ารถยนต์ และจักยานยนต์ ในกรณีที่มองสิ่งต่างๆ ไม่เห็นในระยะ 150 เมตร เพื่อให้มองเห็นทาง และให้รถคันอื่นมองเห็นเราด้วย ส่วนที่ไฟหน้ารถสว่างน้อยลงนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ วันนี้ “รู้ก่อนเหยียบ” จึงขอนำทุกท่านมาหาคำตอบ

 

ไฟใหญ่หรือไฟหน้า (Head Lamp) มีหน้าที่ให้แสงสว่างด้านหน้ารถยนต์ โดยทั่วไปตัวโคมไฟจะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ แบบเปลี่ยนหลอดไม่ได้ หรือที่เรียกว่า “Sealed Beam Head Lamp” ลักษณะของโคมไฟตัวจานสะท้อนแสงหลอด โดยเลนส์ด้านหน้าจะยึดติดสนิทเป็นชิ้นเดียวกัน ตัวหลอดไม่สามารถเปลี่ยนได้ ข้อดี คือ จานสะท้อนแสงจะไม่เกิดการขุ่นมัว เพราะตัวโคมมีการซีลปิดสนิทฝุ่นผงไม่สามารถเล็ดลอดเข้าไปได้ ข้อเสีย คือเมื่อหลอดชำรุด-เสียหายจะต้องซื้อเปลี่ยนใหม่ทั้งโคม นิยมใช้ในรถยนต์รุ่นเก่า

 

แบบเปลี่ยนหลอดได้ “Changeable Head Lamp” มีลักษณะไม่ต่างจากแบบแรกมากนัก แต่ตัวหลอดไฟที่อยู่ภายในสามารถถอดเปลี่ยนใหม่ได้เมื่อชำรุดเสียหาย นั่นคือข้อดี ส่วนข้อเสีย เมื่อใช้งานไปสักระยะสิ่งสกปรกสามารถเล็ดลอดเข้าไปในตัวโคมไฟได้ ทำให้ตัวจานสะท้อนแสงหมอง -ความสว่างก็ลดลงตามไปด้วย หลอดไฟที่มีใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้แก่

 

1.หลอดความร้อน (Incandescent Bulb) ทำงานโดยปล่อยให้กระแสไฟไปยังไส้หลอด ซึ่งทำจากลวดทังสเตน โดยปกติ ภายในหลอดชนิดนี้จะเป็นสูญญากาศ เพื่อป้องกันการเผาไหม้จนเกิดความร้อนสูงเกินควบคุมหรืออาจบรรจุก๊าชเฉื่อย เช่น ก๊าซอาร์กอน ไว้เพื่อช่วยลดคราบเขม่าที่เกิดจากโลหะทังสเตนมาจับผิวด้านใน

 

2.หลอดฮาโลเจน (Halogen Bulb) คือ หลอดที่ไฟถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้มีความสามารถในการรักษาความสว่างเอาไว้ได้ จนหมดอายุการใช้งาน ภายในบรรจุด้วยก๊าซฮาโลเจนเพื่อให้เกิดวงจรฮาโลเจน (Halogen Cycle) แต่อนุภาคไฟฟ้าที่รวมตัวกันนี้ เป็นสารกึ่งโปร่งแสงจึงสว่างน้อยมาก การทำให้เกิดวงจรฮาโลเจนนี้จะต้องรักษาอุณหภูมิของหลอดแก้วให้คงที่ประมาณ 250 องศาเซลเซียส จึงจำเป็นต้องใช้แก้วชนิดพิเศษในการผลิตหลอดแบบนี้

 

3.หลอด HID หรือที่รู้จักกันในนามของหลอด “ซีนอน” (Xenon) ภายในบรรจุก๊าซนีออน ทำให้เกิดแสงสว่างได้ด้วยการผ่านกระแสไฟแรงสูง จากอุปกรณ์ช่วยในการเพิ่มกระแสไฟ 12 โวลท์ให้สูงขึ้นไป ถึง 20,000-25,000 โวลท์ ไปยังขั้วของตัวนำที่ทำจากโลหะทังสเตน ซึ่งจะทำให้เกิดการกระโดดของอิเล็คตรอนระหว่างขั้วของตัวนำคล้ายๆ กับการสปาร์คไฟที่เขี้ยวหัวเทียน อิเล็คตรอนนี้จะทำปฏิกิริยากับก๊าซซีนอนที่ถูกบรรจุอยู่ภายในหลอดแก้วทำให้เกิดแสงสว่างขึ้น

 

เทคนิคควรรู้ สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ไฟไม่สว่างส่วนมากมักจะเกิดจากอายุการ ทั้งนี้เมื่อผ่านการใช้งานมานาน ๆ โคมไฟ-หลอดไฟก็จะเสื่อมสภาพ ความสว่างก็ลดลง นอกจากนี้สายไฟที่หมดอายุ-ขั้วหลอดที่หลวมหรือสกปรก ก็ส่งผลให้ความต้านทานเพิ่มขึ้นความสว่างก็น้อยลงด้วย

 

การบำรุงรักษาระบบส่องสว่าง

-โคมไฟ พลาสติกเซลลูลอยด์ ภายในสกปรก หรือภายนอกหมองหรือมีรอยขูด เกิดจากฝุ่นและสิงสกปรกเล็ดลอดเข้าไป ส่วนภายนอกเกิดจากคราบสกปรกที่เกาะติดโคมหรือเนื้อพลาสติกเซลลูลอยด์เปื่อย วิธีแก้ไข สกปรกภายในให้ล้างโคมไฟ ส่วนภายนอกให้ขัดปัดเงา หากมีทักษะอยู่บ้างสามรถลงมือทำเองได้ หรือจะแวะร้านที่รับล้าง-ขัดโคมไฟที่มีอยู่เกลื่อนข้างทางก็ได้ แต่อย่าลืมสอบถามราคาก่อนนะครับ

-หลอดไฟไม่สว่าง สาเหตุเกิดจาก ฝุ่น-ขั้วสกปรก-ขั้วหลวม-สายไฟและอุปกรณ์เสื่อม-หลอดเสื่อมสภาพ

วิธีแก้ไข เปลี่ยนหรือทำความสะอาดหลอดไฟตามคู่มือที่ระบุ ใช้แอลกอฮอลเช็ด ห้ามใช้มือจับส่วนที่เป็นกระจก หากสายไฟและขั้วหลอดเสื่อมสภาพ สามารถติดตั้ง “ชุดรีเลย์” แทนการเดินสายไฟใหม่ ทั้งนี้สามารถช่วยการจ่ายกระแสไฟแทนของเดิม ซึ่งอาจมีปัญหาได้ วัตต์ของหลอดไฟรถยนต์โดยทั่วไป -ไฟหน้า 60/55 วัตต์ เมื่อเปลี่ยนหลอดไม่ควรเพิ่มวัตต์ที่สูงเกินกว่าที่ระบุไว้หลังโคมไฟ เนื่องจากเมื่อวัตต์สูงขึ้นความสว่างมากขึ้น ก็จะเกิดความร้อนมากขึ้นด้วย ซึ่งความร้อนที่เพิ่มขึ้นนี้จะบั่นทอนอายุตัวโคมไฟและขั้วหลอดให้เสียหายได้

-สปอร์ตไลท์ (ไฟตัดหมอก) มาตรฐานอยู่ที่ 55 วัตต์

-ไฟเลี้ยวด้านข้าง ไฟส่องป้ายทะเบียน ไฟส่องสว่างในรถ 5 - 10 วัตต์

-ไฟถอย ไฟเลี้ยวหน้าหลัง 21 - 23 วัตต์

-ไฟเบรก ไฟหรี่ 21/5 - 23/8 วัตต์

***ไม่ว่าเมื่อหลอดไฟข้างหนึ่งข้างใดขาดก็ควรเปลี่ยนเป็นคู่ เพราะแม้จะระบุวัตต์เท่ากันก็จริงแต่หลอดใหม่กับหลอดที่ใช้งานมานานย่อมให้ความสว่างจริงไม่เท่ากัน โดยเราสาสารถเก็บหลอดเก่าไว่สำรองได้

ขอบคุณข้อมูลจาก บริษัท มาสเตอร์ มอเตอร์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด

 

อัพเดทข่าวสารผ่านทาง LINE
ไม่พลาดทุกโปรโมชั่นสุดคุ้มให้คุณได้รับทราบ
Add Friend ที่ ID : @masterusedcar

อื่นๆ

ข่าวรถยนต์
22 สิงหาคม 2567
ข่าวรถยนต์
18 กรกฎาคม 2567
ข่าวรถยนต์
21 มิถุนายน 2567
ข่าวกิจกรรม
20 ตุลาคม 2566
การใช้คุกกี้ของเรา

เราใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ของเรา และเรามีความประสงค์จะใช้คุกกี้ทางเลือกเพื่อช่วยให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ของเรา โดยเราจะไม่ใช้คุกกี้ทางเลือกจนกว่าท่านจะอนุญาตให้เราเปิดใช้งานคุกกี้ดังกล่าว

ท่านสามารถศึกษารายละเอียดของการใช้คุกกี้ได้จากนโยบายการใช้คุกกี้ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้ ทั้งนี้ หากท่านกดยอมรับคุกกี้ทั้งหมด จะหมายความว่าท่านยินยอมให้เราบันทึกและใช้คุกกี้ทั้งหมดจากอุปกรณ์ที่ท่านใช้ในการเข้าเว็บไซต์ของเรา รวมถึงเพื่อทำให้การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บและการวิเคราะห์การใช้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมทางการตลาดของเรา

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด