ที่ตั้งสาขา
Menu
TH EN
094 678 2888

ไฟหน้ารถ (Head Lamp) มีกี่แบบ...

หมวดหมู่: ความรู้คู่รถ | 11 มิถุนายน 2561 | จำนวนเข้าชม (20,588)

 

ไฟหน้ารถ (Head Lamp)
รถยนต์ทั่วไปไฟหน้าจะแบ่งตัวโคมเป็น 2 แบบ คือ

   •      แบบเปลี่ยนหลอดไม่ได้ หรือที่เรียกว่า “Sealed Beam Head Lamp” ลักษณะของโคมไฟแบบนี้ตัวจานสะท้อนแสงหลอด และเลนส์ด้านหน้าจะยึดติดสนิทเป็นชิ้นเดียวกัน ตัวหลอดไม่สามารถเปลี่ยนได้

ข้อดี คือ จานสะท้อนแสงจะไม่เกิดการขุ่นมัว เพราะตัวโคมมีการซีลปิดสนิทฝุ่นผงไม่สามารถเล็ดลอดเข้าไปได้ 
ข้อเสีย คือ เวลาหลอดขาดต้องซื้อเปลี่ยนใหม่ทั้งโคมนิยมใช้ในรถยนต์รุ่นเก่า

   •      แบบเปลี่ยนหลอดได้ “Changeable Head Lamp” ลักษณะคล้ายๆ กับแบบแรกแต่ตัวหลอดไฟที่อยู่ภายในสามารถถอดออกมาเปลี่ยนใหม่เมื่อใช้การไม่ได้

ข้อเสีย คือ เมื่อใช้งานไปสักระยะหนึ่งจะมีสิ่งสกปรกเล็ดลอดเข้าไป ทำให้ตัวจานฉายหมอกลงไม่แจ่มใสเหมือนของใหม่

หลอดทั่วไปที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้แก่

   •      หลอดความร้อน “Incandescent Bulb” ทำงานโดยปล่อยให้กระแสไฟไปยังไส้หลอด (Filament) ซึ่งทำจากลวดทังสเตน เช่นเดียวกับหลักการเตาไฟฟ้าแบบขดลวด และโดยปกติ ภายในหลอดชนิดนี้จะเป็นสูญญากาศ เพื่อป้องกันการเผาไหม้จนเกิดความร้อนสูงเกินควบคุมหรืออาจจะบรรจุก๊าชเฉื่อย เช่น ก๊าซอาร์กอน ไว้เพื่อช่วยลดคราบเขม่าที่เกิดจากโลหะทังสเตนมาจับผิวด้านใน

   •      หลอดฮาโลเจน “Halogen Bulb” คือ หลอดที่ไฟถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้มีความสามารถในการรักษาความสว่างเอาไว้ได้ จนหมดอายุการใช้งาน ภายในบรรจุด้วยก๊าซฮาโลเจนเพื่อให้เกิดวงจรฮาโลเจน (Halogen Cycle) แต่อนุภาคไฟฟ้าที่รวมตัวกันนี้ เป็นสารกึ่งโปร่งแสงจึงสว่างน้อยมาก การทำให้เกิดวงจรฮาโลเจนนี้จะต้องรักษาอุณหภูมิของหลอดแก้วให้คงที่ประมาณ 250 องศาเซลเซียส จึงจำเป็นต้องใช้แก้วชนิดพิเศษในการผลิตหลอดแบบนี้

   •      หลอด HID เป็นของใหม่ล่าสุด รู้จักกันในนามของหลอด “ซีนอน” (Xenon) ภายในบรรจุก๊าซนีออน ทำให้เกิดแสงสว่างได้ด้วยการผ่านกระแสไฟแรงสูง จากอุปกรณ์ช่วยในการเพิ่มกระแสไฟ 12 โวลท์ให้สูงขึ้นไป ถึง 20,000-25,000 โวลท์ ไปยังขั้วของตัวนำที่ทำจากโลหะทังสเตน ซึ่งจะทำให้เกิดการกระโดดของอิเล็คตรอนระหว่างขั้วของตัวนำคล้ายๆ กับการสปาร์คไฟที่เขี้ยวหัวเทียน อิเล็คตรอนนี้จะทำปฏิกิริยากับก๊าซซีนอนที่ถูกบรรจุอยู่ภายในหลอดแก้วทำให้เกิดแสงสว่างขึ้น


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลอดไฟรถยนต์ 
          หลอดไฟหน้าจะมีอยู่หลายลักษณะ เช่น H1(รถยุโรปและรถญี่ปุ่นรุ่นใหญ่), H2, H3(ใช้ติดเพิ่มในไฟสปอร์ตไลท์), H4,H7, HB3, HB4 ซึ่งจะแตกต่างกันตามลักษณะของขั้วหลอด ที่นิยมใช้กันทั่วไปในประเทศไทยจะเป็น H4 เนื่องจากมี 2 ไส้ คือไฟสูง-ต่ำ อยู่ในหลอดเดียวกัน อักษร K ที่ปรากฎบนแพคเกจ เช่น 4000K, 5000K นั้น ในที่นี้ เป็นตัวย่อมาจากคำว่า KELVEN คือ ค่าอุณหภูมิ สีของแสง (color temperature) แต่ไม่กี่ยวกับความสว่างหลอดไฟรถยนต์จะวัดความสว่างกันเป็น Lumen ถ้าหลอดธรรมดาทั่วไป กินไฟมากหรือวัตต์มากก็จะสว่างมาก 

วัตต์ของหลอดไฟรถยนต์ที่ใช้อยู่โดยทั่วไป

   •      ไฟเลี้ยวด้านข้าง ไฟส่องป้ายทะเบียน ไฟส่องสว่างในรถ ใช้อยู่ที่ประมาณ 5 - 10 วัตต์
   •      ไฟหน้า ใช้อยู่ที่ 60/55 วัตต์
   •      ไฟถอย ไฟเลี้ยวหน้าหลัง ใช้อยู่ที่ 21 หรือ 23 วัตต์
   •      ไฟเบรก ไฟหรี่ ใช้อยู่ที่ 21/5 หรือ 23/8 วัตต์
   •      ไฟสปอร์ตไลท์ หรือไฟตัดหมอก มาตรฐานอยู่ที่ 55 วัตต์

ข้อสังเกตุและคำแนะนำในการเปลี่ยนหลอดไฟรถยนต์เมื่อหลอดขาด 
         หากหลอดไฟเพียงข้างใดข้างหนึ่งขาด แนะนำให้เปลี่ยนทีเดียวทั้งสองหลอด เนื่องจากการกินกระแสไฟของทั้งสองข้างที่ ไม่เท่ากัน จะทำใหแสงที่เปล่งออกมาจากโคมทั้งสองจะสว่างไม่เท่ากัน ดังนั้นสำหรับหลอดข้างที่ยังสามารถใช้งานได้อยู่ เราอาจจะเก็บไว้เป็นหลอดสำรองแทน 

การบำรุงรักษาระบบส่องสว่าง 
         จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุส่วนมาก มักเกิดขึ้นในที่พระอาทิตย์ใกล้จะตกดิน คือช่วงเวลาประมาณ 18.00 น. ดังนั้น กฎหมายกำหนดให้เปิดไฟใหญ่ได้ในกรณีที่มองไม่เห็นสิ่งต่างๆ หรือเห็นได้ในระยะ 150 เมตร เพื่อทำให้เรามองเห็นทาง และยังทำให้รถคันอื่นมองเห็นเราด้วย  การเปิดไฟหรี่ที่ไฟหน้าในช่วงเวลาดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่ควรทำ และควรหมั่นสังเกต ตรวจสอบระบบไฟส่องสว่างทั้งระบบและไฟสัญญาณต่างๆ เช่น ไฟฉุกเฉิน ไฟเลี้ยว ไฟเบรก ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานครบทุกดวง เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ และหากโคมไฟสกปรกก็ควรทำความสะอาดเพื่อทำให้แสงสว่างของหลอดไฟออกมาได้เต็มที่ ในกรณีที่พบกับทัศนะวิสัยในการมองเห็นที่ไม่ชัดเจน ก็ควรเปิดไฟใหญ่เพื่อความปลอดภัยไว้ก่อน 

อัพเดทข่าวสารผ่านทาง LINE
ไม่พลาดทุกโปรโมชั่นสุดคุ้มให้คุณได้รับทราบ
Add Friend ที่ ID : @masterusedcar

อื่นๆ

ข่าวรถยนต์
22 สิงหาคม 2567
ข่าวรถยนต์
18 กรกฎาคม 2567
ข่าวรถยนต์
21 มิถุนายน 2567
ข่าวกิจกรรม
20 ตุลาคม 2566
การใช้คุกกี้ของเรา

เราใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ของเรา และเรามีความประสงค์จะใช้คุกกี้ทางเลือกเพื่อช่วยให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ของเรา โดยเราจะไม่ใช้คุกกี้ทางเลือกจนกว่าท่านจะอนุญาตให้เราเปิดใช้งานคุกกี้ดังกล่าว

ท่านสามารถศึกษารายละเอียดของการใช้คุกกี้ได้จากนโยบายการใช้คุกกี้ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้ ทั้งนี้ หากท่านกดยอมรับคุกกี้ทั้งหมด จะหมายความว่าท่านยินยอมให้เราบันทึกและใช้คุกกี้ทั้งหมดจากอุปกรณ์ที่ท่านใช้ในการเข้าเว็บไซต์ของเรา รวมถึงเพื่อทำให้การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บและการวิเคราะห์การใช้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมทางการตลาดของเรา

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด