ในระหว่างเดินทางขอให้ผู้ขับขี่และผู้ที่นั่งโดยสารมาด้วย ช่วยกันสังเกตสัญญาณของอาการหลับในของผู้ขับ 8 ประการ
1.หาวบ่อยและต่อเนื่อง
2.ใจลอยไม่มีสมาธิ
3.รู้สึกเหนื่อยล้า หงุดหงิด กระวนกระวาย
4.จำไม่ได้ว่าขับรถผ่านอะไรมาในช่วง 2-3 กิโลเมตรที่ผ่านมา
5.รู้สึกหนักหนังตา ลืมตาไม่ขึ้น ตาปรือ มองเห็นภาพไม่ชัด
6.รู้สึกมึนหนักศีรษะ
7.ขับรถส่ายไปมาหรือออกนอกเส้นทาง
8.มองข้ามสัญญาณไฟและป้ายจราจร หากมีอาการดังกล่าวเพียงข้อใดข้อหนึ่ง ขอให้หยุดขับรถและจอดรถในที่ปลอดภัยเพื่องีบหลับประมาณ 15 นาที ก่อนขับต่อ หรือเปลี่ยนให้ผู้อื่นขับรถแทน อย่าฝืนขับเพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
สำหรับการแก้อาการง่วงนอนขณะขับรถมีหลายวิธี เช่น รับประทานของขบเคี้ยวที่มีรสเปรี้ยวหรือดื่มเครื่องดื่มแช่เย็นที่ช่วยให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่า หรือเปิดหน้าต่างรถ เพื่อถ่ายเทอากาศ ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในรถและให้ลมโชยปะทะหน้า เปิดเพลงฟังดังๆ จังหวะเร็ว และร้องตามไปด้วยก็จะช่วยให้ไม่เกิดอาการง่วงนอนได้ โดยผลของอาการง่วงนอนต่อการขับขี่รถจะทำให้ประสาทสัมผัสทุกอย่างช้าลง สมองตื้อ การตัดสินใจผิดพลาด เมื่อเกิดเหตุการณ์คับขันจะแตะเบรกได้ช้ากว่าปกติ
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข