ที่ตั้งสาขา
Menu
TH EN
094 678 2888

ปะยาง เรื่องสำคัญ??ที่ต้องรู้!!

หมวดหมู่: Car Knowledge | 11 มิถุนายน 2561 | จำนวนเข้าชม (4,633)

เชื่อว่าหลาย ๆ ท่าน คงเคยประสบพบเจอเหตุการณ์ยางรั่ว ไม่ว่าจะยางเก่า-ยางใหม่ และมักจะเกิดคำถามตามมาเสมอ ๆ ว่าเราควรปะยางด้วยวิธีใดถึงจะดีที่สุด วันนี้ “รู้ก่อนเหยียบ” จึงขอนำทุกท่านมารู้จักการปะยางในรูปแบบต่าง ๆ

การปะยางในปัจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

-การแทงไหม หรือตัวหนอน มักใช้กับบาดแผลขนาดเล็กที่เกิดจากถูกตะปู-เกลียวปล่อย-น๊อตขนาดไม่ใหญ่นัก โดยช่างจะดึงตะปูทีแทงยางออกจากนั้นใช้ตะไบปลายแหลมแทงเข้าไปเพื่อทำความสะอาดบาดแผลก่อนแทงไหมที่มีส่วนผสมระหว่างใยสังเคราะห์ยางดิบและกาวลงไป

-สตรีมร้อน วิธีการนี้จำเป็นต้องถอดยางออกจากกระทะล้อ ก่อนทำความสะอาดโดยรอบบาดแผลด้านในของยาง ด้วยหินเจียร์ จากนั้นใช้กาว และยางปะวางปิดบริเวณรอยรั่วและตามด้วยการนำขึ้นเตาความร้อนเพื่อหลอมละลายยางปะให้เป็นเนื้อเดียวกับยางรถยนต์ของเราและปิดแผลรอยรั่วไปโดยปริยาย

-สตรีมเย็น วิธีการจะคล้ายกับการสตรีมร้อน กล่าวคือเมื่อถอดยางออกจากกระทะล้อ ทำความสะอาดโดยรอบบาดแผลด้านในของยาง ด้วยหินเจียร์ ใช้กาวทาทิ้งไว้ให้หมาด ๆ จากนั้นให้แผ่นยางสตรีมเย็น แปะทับลงไปใช้ฆ้อนตีให้เนื้อแนบสนิทปิดบาดแผลรอยรั่ว

เทคนิคควรรู้ ข้อดี-ข้อเสีย ของการปะยางประเภทต่าง ๆ

การแทงไหม หรือตัวหนอน
ข้อดี

-ง่ายสะดวกรวดเร็ว ราคาถูก แถมไม่ต้องถอดยางออกจากกระทะล้อให้ยุ่งยาก และยังสามารถทำได้ด้วยตัวเองหากมีอุปกรณ์ครบถ้วน

ข้อเสีย
-ใช้ได้เฉพาะบาดแผลขนาดเล็ก และยังสามารถกลับมารั่วซึมที่แผลเดิมได้ นอกจากนี้ไหมยังสามารถหลุดได้

สตรีมร้อน
ข้อดี

-บาดแผลจะแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกันกับยาง และสามารถรับน้ำหนักได้เท่ายางปกติ

ข้อเสีย
-ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าสตีมร้อน ดังนั้นจึงมีโอกาสที่ความร้อนจะทำให้โครงสร้างยางเสียรูปทรงและอาจบวมในที่สุด

สตรีมเย็น
ข้อดี

-ไม่ใช้ความร้อนจึงไม่ทำให้โครงสร้างยางเสียรูปทรง

ข้อเสีย
-ความสามารถในการรับน้ำหนักสูง ๆ ลดลงจึงไม่เหมาะกับรถที่ใช้บรรทุกของหนัก แต่หากเป็นรถบ้านใช้งานปกติก็ไม่มีปัญหา

ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง วิธีการปะยางก็เช่นเดียวกัน ไม่มีแบบไหนดีที่สุด ขึ้นอยู่กับการใช้งานในแต่ละแบบ ก็ลองเลือกดูครับว่าแบบไหนจะตอบโจทย์การใช้งานของท่านมากที่สุด

-ขอบคุณข้อมูลจาก  บริษัท มาสเตอร์ มอเตอร์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด

อื่นๆ

Auto News
22 สิงหาคม 2567
Auto News
18 กรกฎาคม 2567
Auto News
21 มิถุนายน 2567
News and Events
20 ตุลาคม 2566
การใช้คุกกี้ของเรา

เราใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ของเรา และเรามีความประสงค์จะใช้คุกกี้ทางเลือกเพื่อช่วยให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ของเรา โดยเราจะไม่ใช้คุกกี้ทางเลือกจนกว่าท่านจะอนุญาตให้เราเปิดใช้งานคุกกี้ดังกล่าว

ท่านสามารถศึกษารายละเอียดของการใช้คุกกี้ได้จากนโยบายการใช้คุกกี้ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้ ทั้งนี้ หากท่านกดยอมรับคุกกี้ทั้งหมด จะหมายความว่าท่านยินยอมให้เราบันทึกและใช้คุกกี้ทั้งหมดจากอุปกรณ์ที่ท่านใช้ในการเข้าเว็บไซต์ของเรา รวมถึงเพื่อทำให้การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บและการวิเคราะห์การใช้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมทางการตลาดของเรา

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด