ที่ตั้งสาขา
Menu
TH EN
094 678 2888

เบรกแตก!! ป้องกันได้?

หมวดหมู่: Car Knowledge | 11 มิถุนายน 2561 | จำนวนเข้าชม (4,961)

“เบรกแตก” หมายถึงอาการที่เกิดขึ้นเมื่อยามที่เราเหยียบแป้นเบรกจนจมสุดแต่ระบบเบรกไม่ทำงานตอบสนอง คือไม่สามารถชลอรถได้ เหมือนไม่มีเบรก“

สาเหตุของอาการ“เบรกแตก”

-เกิดจากมีรอยรั่วในระบบ เช่น ท่อแป๊ปเบรกผุกร่อนจนรั่ว สายอ่อนเบรกแตก ผ้าเบรกหมดเป็นเวลานาน จนทำให้ลูกสูบเบรกหลุดออกมา และเมื่อน้ำมันเบรกรั่วออกจากระบบจนหมด ก็จะเกิดอาการ “เบรกแตก”

-เกิดจากความร้อนอันเนื่องมาจากการเบรกกระทันหัน หรือเบรกบ่อยๆ ภายใต้ความเร็วสูง จะส่งผลให้ “น้ำมันเบรก” ซึมซับความร้อนเอาไว้แล้วระบายสู่ส่วนอื่นไม่ทัน จนถึงจุดเดือดสูงสุด “น้ำมันเบรก” ก็จะระเหยกลายเป็นไอในกระบอกสูบเบรกจนไม่มีแรงดันที่จะไปกระทำต่อลูกสูบเบรกให้ไปดันผ้าเบรกได้ ทำให้เกิดอาการ“เบรกแตก”

ข้อปฏิบัติเมื่อ“เบรกแตก”

-เมื่องต้องเผชิญหน้ากับอาการ“เบรกแตก” ต้องตั้งสติจับพวงมาลัยให้มั่น

-เปิดไฟฉุกเฉินเพื่อเป็นสัญญาณบอกเพื่อนร่วมทางให้เว้นระยะห่างจากรถคุณ

-ลดความเร็ว รถยนต์ให้ได้โดยเร็วที่สุด โดยการถอนเท้าออกจากคั่นเร่ง

-เกียร์ออโตเมติกให้ดึงคันเกียร์จากตำแหน่ง D ลงมาที่ 3 ไล่ลงไปที่ 2 และ L เมื่อความเร็วลดลงอย่าดึงลงไปในตำแหน่ง2หรือL ในเครั้งเดียวเนื่องจากจะทำให้เกียร์พังและรถยังเสียการทรงตัวด้วย

-เกียร์ธรรมดาให้เหยียบคลัทต์แล้วไล่ลดเกียร์ลงมาเรื่อย ๆ

-ทั้งนี้ในเกียร์ทั้ง 2 ระบบเรายังสามารถ ดึงเบรกมือช่วยชลอรถได้ด้วย โดยต้องค่อย ๆ ดึง ห้ามดึงสุดแรงในครั้งเดียวเพราะจะส่งผลให้รถเสียการทรงตัวจนนำมาสู่การเกิดอุบัติเหตุ

- เมื่อชลอรถได้แล้วให้มองหาจุดปลอดภัยเพื่อเข้าจอด“

วิธีป้องกัน “เบรกแตก” วิธีที่ดีที่สุดคือหมั่นดูแลระบบเบรกให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้อยู่เสมอ

- เปลี่ยนถ่าย“น้ำมันเบรก”ปีละ1ครั้ง แม้ว่าไม่มีการรั่วซึมก็ตาม เนื่องจาก “น้ำมันเบรก”มีคุณสมบัติอันไม่พึงประสงค์ คือเป็นสารที่ดูดซับความชื้นจากอากาศได้ดี แถมยังสามารถผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้ และเมื่อความชื้นเข้ามาปะปนอยู่ใน “น้ำมันเบรก” ส่งผลให้มีจุดเดือดลดต่ำลง ยิ่งบ้านเราจัดเป็นเขตที่มีความชื้นสูง จึงเป็นที่มาของการแนะนำให้เปลี่ยนถ่าย “น้ำมันเบรก” ทุก 1 ปี เพื่อไล่ความชื้นที่ผสมอยู่ในน้ำมันเบรก และยังเป็นการป้องกันการกัดกร่อนจากสนิมที่เกิดจากความชื้น ซึ่งจะทำให้ลูกยางเบรกรั่วได้ง่าย“

-ผ้าเบรก ควรเลือกใช้ชนิดที่ได้คุณภาพ เนื่องจากสามารถทนความร้อนได้ตามมาตรฐาน ทั้งนี้ผ้าเบรกที่ใช้แล้วจะบางลงเรื่อยๆ ทั้งนี้เมื่อมีความหนาต่ำกว่า3มิลลิเมตรควรเปลี่ยนทันที

-จานเบรก ผ้าเบรกที่มีโลหะผสมอยู่มาก ฝุ่น หิน และการปล่อยให้ผ้าเบรกหมด จะทำให้จานเบรกเป็นรอย การขับรถลุยน้ำขณะที่จานเบรกร้อน จะทำให้จานเบรกคดบิดตัว จนต้องทำการเจียร์จาน แต่การเจียร์จะทำให้จานเบรกบางลง และเมืองบางลงต่ำกว่าค่าที่ผู้ผลิตกำหนด ควรเปลี่ยนจานเบรกใหม่ หากไม่เปลี่ยนเมื่อผ้าเบรกบางลงอาจทำให้ลูกสูบเบรกหลุด นำมาสู่อาการ “เบรกแตก” ในที่สุด“

เทคนิคควรรู้

-การขับรถลงทางลาดชันหรือลงเขา ถ้าใช้เบรกมากเกินไปอาจทำให้เบรกไหม้ เบรกเฟด และเบรกแตก ในที่สุด สามารถป้องกันได้โดย การใช้ Engine Brake ซึ่งหมายถึงการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรก ด้วยการลดเกียร์ให้ต่ำลงเมื่อต้องการลดความเร็ว

-“น้ำมันเบรก” ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดได้กำหนดชื่อมาตรฐานไว้คือ “DOT” (Department of Transportation) โดยกำหนดจุดเดือดของน้ำมันเบรก “DOT” 3 ต้องมีจุดเดือดไม่ต่ำกว่า 205 องศาเซลเซียส “DOT” 4 ต้องมีจุดเดือดไม่ต่ำกว่า 230 องศาเซลเซียส และ“DOT” 5 ต้องมีจุดเดือดไม่ต่ำกว่า 260 องศาเซลเซียส“

-โดยทั่วไปผู้ผลิตรถยนต์จะกำหนดให้ใช้น้ำมันเบรก ”DOT” 3 หรือ ”DOT” 4 และ90% จะเติม ”DOT” 3มาจากโรงงาน แต่เมื่อมีสามารถใช้ ”DOT” 4 หรือ”DOT” 5 ซึ่งมีจุดเดือดสูงกว่าได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการเติมน้ำมันเบรกคนละเกรดผสมกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก บริษัท มาสเตอร์ มอเตอร์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด

 

อัพเดทข่าวสารผ่านทาง LINE
ไม่พลาดทุกโปรโมชั่นสุดคุ้มให้คุณได้รับทราบ
Add Friend ที่ ID : @masterusedcar

อื่นๆ

Auto News
22 สิงหาคม 2567
Auto News
18 กรกฎาคม 2567
Auto News
21 มิถุนายน 2567
News and Events
20 ตุลาคม 2566
การใช้คุกกี้ของเรา

เราใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ของเรา และเรามีความประสงค์จะใช้คุกกี้ทางเลือกเพื่อช่วยให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ของเรา โดยเราจะไม่ใช้คุกกี้ทางเลือกจนกว่าท่านจะอนุญาตให้เราเปิดใช้งานคุกกี้ดังกล่าว

ท่านสามารถศึกษารายละเอียดของการใช้คุกกี้ได้จากนโยบายการใช้คุกกี้ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้ ทั้งนี้ หากท่านกดยอมรับคุกกี้ทั้งหมด จะหมายความว่าท่านยินยอมให้เราบันทึกและใช้คุกกี้ทั้งหมดจากอุปกรณ์ที่ท่านใช้ในการเข้าเว็บไซต์ของเรา รวมถึงเพื่อทำให้การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บและการวิเคราะห์การใช้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมทางการตลาดของเรา

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด