ที่ตั้งสาขา
Menu
TH EN
094 678 2888

หม้อลมเบรค รู้นิสัยไว้เพื่อความปลอดภัย

หมวดหมู่: Car Knowledge | 11 มิถุนายน 2561 | จำนวนเข้าชม (8,936)

อย่างที่ทราบๆกันอยู่แล้วว่า “ระบบเบรค” เป็นสิ่งที่สำคัญเมื่อดูแลให้อยู่ในสภาพปกติพร้อมใช้ก็จะเพิ่มความปลอดภัยในทุกการเดินทาง ทั้งนี้ถ้ายังจำกันได้ “รู้ก่อนเหยียบ” เคยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับระบบเบรคและปัญหาต่างๆไปแล้วในบทความเรื่อง "เบรค" อย่าคิดว่าไม่สำคัญเรื่องของผ้าเบรค ทำไม?ต้องถ่ายน้ำมันเบรก!! แต่อย่างไรก็ตามยังมีส่วนประกอบสำคัญอีกอย่างที่จะมองข้ามไปไม่ได้นั่นคือ “หม้อลมเบรค” (Brake Booster) ซึ่งมีหน้าที่สำคัญคือ ช่วยผ่อนแรงในการเหยียบเบรคทำงานด้วยระบบสูญญากาศ

ทั้งนี้ในหม้อลมเบรคจะมีแผ่นไดอะเฟรมและจะมีท่อต่อเชื่อมกับท่อไอดี เมื่อเครื่องยนต์ทำงานจะดูดเอาอากาศเพื่อใช้ในการจุดระเบิดผ่านท่อไอดีและท่อที่เชื่อมต่อไปยังหม้อมลมเบรคด้วย ส่งผลทำให้ภายในหม้อลมมีสภาวะเป็นสูญญากาศ และเจ้าสูญญากาศนี้เองที่เป็นตัวช่วยผ่อนแรงในการเหยียบเบรคของเราให้นุ่มนวล แต่ในทางกลับกัน เมื่อเครื่องยนต์ดับ เราจะสามารถเหยียบเบรคที่นุ่มนวล ได้แค่ 2-3 ครั้ง จากนั้นแป้นเบรคก็จะแข็งทื่อขึ้นมาในทันทีด้วยเหตุผลที่ว่าแรงลมดูดซึ่งถูกเก็บกักไว้ในหม้อลมเบรคหมดลงนั่นเอง ดังนั้นไม่ว่าชิ้นส่วนในระบบเบรค อาทิผ้าเบรค จานเบรค จะเทพขนาดไหนแต่ถ้าหม้อลมเบรคชำรุดเสียหายชิ้นส่วนต่าง ๆ ก็ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพได้เช่นกัน

เทคนิคควรรู้

วิธีตรวจสอบหม้อลมเบรค

-ดับเครื่องยนต์ เหยียบเบรคให้สุดแล้วปล่อย 5-6 ครั้ง จนลมสูญญากาศหมดหม้อลม แป้นเบรคจะแข็งดันเท้าขึ้นมา จากนั้นให้เหยียบเบรคค้างเอาไว้ ทั้งที่เเข็งๆ สตาร์เครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์ติดให้สังเกตว่า ถ้าแป้นเบรคต่ำลงตามแรงเยียบเบรคที่ค้างไว้ แสดงว่าหม้อลมเบรคยังปกติสุขดีอยู่ แต่ถ้าแป้นเบรคไม่ต่ำลงหรือสูงขึ้น แสดงว่าผิดปกติ

วิธีตรวจการกักเก็บลมดูด(สูญญากาศ)ในระบบ

-ติดเครื่องยนต์ให้เดินเบา ประมาณ2 นาที แล้วดับเครื่องยนต์ จากนั้นเหยียบแป้นเบรคลงจนสุดแล้วปล่อย คอย 5 วินาที ทำซ้ำแบบเดิมอีก 3 ครั้ง และให้สังเกตว่าในทุกๆครั้งที่เหยียบ แป้นเบรคจะต้องสูงขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย ถือว่าปกติ ด้วยเหตุผลที่ว่า ทุกครั้งที่มีการเหยียบเบรค ลมดูด (สูญญากาศ )ภายในหม้อลมจะลดลงไปเรื่อยจนหมดในที่สุด แต่หาก การเหยียบทุกครั้ง แป้นเบรคเท่ากันแสดงว่ามีการรั่วซึมของระบบลมดูด (สูญญากาศ )

วิธีตรวจสอบการทำงานของแผ่นไดอะเฟรม

-ติดเครื่องยนต์ แล้วเหยียบแป้นเบรคค้างไว้ จากนั้นดับเครื่องยนต์ โดยที่ยังเหยียบแป้นเบรคค้างเอาไว้ ให้มากกว่า 30 วินาที ถ้าแป้นเบรคไม่มีการดันสูงขึ้น แสดงว่าการทำงานของ แผ่นไดอะเฟรม ยังปกติ แต่ถ้าแป้นเบรคดันเท้าสูงขึ้นมา แสดงว่าแผ่นไดอะเฟรมอาจรั่วขาด หรือหม้อลมชำรุด

แนวทางการแก้ไขเมื่อหม้อลมเบรคชำรุดเสียหาย

-เปลี่ยนหม้อลมเบรคใหม่ สบายใจแต่ไม่สบายกระเป๋าเนื่องจากหม้อลมเบรคใหม่แกะกล่องมีราคาที่สูงเอาเรื่องอยู่ที่เดียว

-เปลี่ยนหม้อลมเบรค มือสอง ราคาไม่แรง แต่ต้องอาศัยช่างผู้เชี่ยวชาญในการเลือกซื้อและต้องรีบทดลองใช้เนื่องจาก ประกันการเปลี่ยนลูกใหม่แค่ 7 วัน

-ซ่อม เปลี่ยนแผ่นไดอะเฟรม ในหม้อลมบางรุ่น(ย้ำเฉพาะบางรุ่นเท่านั้น) สามารถเปิดเปลี่ยน แผ่นไดอะเฟรม ได้แต่อย่างไรก็ตามจะต้องเลือกใช้ แผ่นไดอะเฟรม ที่ได้มาตรฐาน

ขอบคุณข้อมูลจาก
บริษัท มาสเตอร์ มอเตอร์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด  www.mmsboschcarservice.com

 

อื่นๆ

Auto News
22 สิงหาคม 2567
Auto News
18 กรกฎาคม 2567
Auto News
21 มิถุนายน 2567
News and Events
20 ตุลาคม 2566
การใช้คุกกี้ของเรา

เราใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ของเรา และเรามีความประสงค์จะใช้คุกกี้ทางเลือกเพื่อช่วยให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ของเรา โดยเราจะไม่ใช้คุกกี้ทางเลือกจนกว่าท่านจะอนุญาตให้เราเปิดใช้งานคุกกี้ดังกล่าว

ท่านสามารถศึกษารายละเอียดของการใช้คุกกี้ได้จากนโยบายการใช้คุกกี้ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้ ทั้งนี้ หากท่านกดยอมรับคุกกี้ทั้งหมด จะหมายความว่าท่านยินยอมให้เราบันทึกและใช้คุกกี้ทั้งหมดจากอุปกรณ์ที่ท่านใช้ในการเข้าเว็บไซต์ของเรา รวมถึงเพื่อทำให้การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บและการวิเคราะห์การใช้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมทางการตลาดของเรา

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด