ที่ตั้งสาขา
Menu
TH EN
094 678 2888

ปอนด์ต่อปอนด์??พวงมาลัยไฟฟ้า:ไฮดรอลิก!!

หมวดหมู่: Car Knowledge | 11 มิถุนายน 2561 | จำนวนเข้าชม (3,837)

“ระบบพวงมาลัยช่วยผ่อนแรง” หรือที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้จักกันชื่อกันคือ “พวงมาลัยเพาเวอร์” (Power steering system) ในปัจจุบันถือเป็นอุปกรณ์มาตรฐานของรถยนต์เกือบทุกยี่ห้อรุ่นเพื่อความสะดวกสบายและช่วยผ่อนแรงในการขับขี่ โดยจะมีทั้งระบบไฟฟ้าและระบบไฮดรอลิก ถึงตรงนี้หลาย ๆ ท่านคงเกินคำถามว่าอ้าวแล้วมันแตกต่างกันอย่างไร-ระบบไหนดี-ดูแลรักษาอย่างไรถึงจะถูกวิธี “รู้ก่อนเหยียบ” จึงขอนำทุกท่านมารู้จักกับ “พวงมาลัยเพาเวอร์” ทั้งระบบไฟฟ้าและระบบไฮดรอลิก กันแบบปอนด์ต่อปอนด์

แรกเริ่มเดิมที ในรถยนต์รุ่นเก่า ๆ ยังไม่มีระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ช่วยผ่อนแรงการหมุนพวงมาลัยในพื้นที่แคบ ๆ หรือขณะรถหยุดนิ่งนั้นสร้างความลำบากให้ผู้ขับขี่ที่ต้องใช้กำลังในการเอาชนะแรงต้านระหว่างหน้าสัมผัสยางกับพื้นถนน ดังนั้นรถยนต์ในยุคต่อ ๆ มาจึงมีการคิดค้นและติดตั้งระบบพวงมาลัยเพาเวอร์เอาไว้ เริ่มต้นด้วยระบบแรงดันของน้ำมันไฮดรอลิก ช่วยผ่อนแรงซึ่งมีการปรับปรุงพัฒนามาหลายยุค และระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ไฟฟ้าตามลำดับ

-ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก (Hydraulic Power Steering) ทำงานโดยอาศัยกำลังจากเครื่องยนต์ผ่านสายพานหมุนปั๊มสร้างแรงดันไฮดรอลิก ก่อนส่งกำลังผ่านท่อแรงดันไปยังกระปุกพวงมาลัย หรือแร็กพวงมาลัย เพื่อช่วยผ่อนแรง ทำให้พวงมาลัยหมุนได้เบามือนั่นเอง

ข้อดี

-พวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก ที่สมบูรณ์จะให้ความแม่นยำสูงในการขับขี่ทั้งทางตรงและยามเข้าโค้ง

ข้อเสีย

-เมื่อต้องเกี่ยวดองหนองยุ่งกับน้ำมันในการถ่ายทอดกำลัง ดังนั้นเมื่อมีชิ้นส่วนอาทิ ซีล-ท่อทางชำรุด ก็ย่อมเกิดปัญหารั่วซึม

ข้อควรระวัง

-หลีกเลี่ยงการหักพวงมาลัยจนสุด ค้างไว้นานๆ เนื่องจากจะทำให้น้ำมันเกิดแรงดันสูงกว่าปกติ จนอาจทำให้เกิดการรั่วซึมของระบบได้
 

-ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า EPS (Electric Power Steering) ระบบนี้จะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวสร้างกำลังช่วยผ่อนแรงแทนปั๊มแรงดันไฮดรอลิก เมื่อผู้ขับขี่หักพวงมาลัยจะมีเซ็นเซอร์ ตรวจจับก่อนส่งให้กล่องควบคุมสั่งการให้มอเตอร์ทำงาน นอกจากนี้ในช่วงความเร็วต่ำจะให้ความรู้สึกที่เบากว่าพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอริก และจะรู้สึกหนืด-หนักขึ้นเมื่อใช้ความเร็วสูง ทั้งนี้ในรถบางรุ่นยังสามารถเลือกปรับโปรแกรมได้หลากหลายรูปแบบ

ข้อดี

-ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า จะให้ค่าความหนัก-เบาของพวงมาลัยที่แตกต่างเพื่อความปลอดภัยในแต่ละช่วงความเร็ว
-เมื่อใช้มอเตอร์ในการสร้างกำลังจึงตัดปัญหากวนใจเรื่องการรั่วซึมของระบบทิ้งไป
-สามารถลดกำลังเครื่องยนต์ลง จึงทำให้อัตราการบริโภคเชื้อเพลิงลดลงตามไปด้วย แม้อาจจะเล็กน้อยก็ตาม

ข้อเสีย

-มีระยะฟรีและความแม่นยำน้อยกว่า ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก
 
เทคนิคควรรู้

ส่องต้นเหตุ”พวงมาลัยหนัก”

-ปั๊มไฮดรอลิก ชำรุดเสียหาย โดยส่วนใหญ่อาการนี้มักจะมาพร้อมกับเสียงหอน-เสียงคราง  สามารถแก้ไขได้โดยการรื้อซ่อมแซมชิ้นส่วนภายใน แต่ถ้าเกินเยียวยา สามารถหาซื้อปั๊มใหม่หรือมือสองมาเปลี่ยนได้

-ระดับน้ำมันต่ำเกินไป ส่งผลให้ปั๊มไฮดรอลิกไม่สามารถสร้างกำลังได้เต็มที่ ควรเติมให้อยู่ในระดับปกติและหมั่นตรวจสอบเสมอ

-น้ำมันขาดจากการรั่วซึม ให้ตรวจสอบหาจุดที่รั่วซึมแล้วแก้ไข ก่อนเติมให้อยู่ในระดับปกติ

-เติมน้ำมันผิด ปัญหายอดฮิตที่พบเห็นได้บ่อย ๆ แก้ไขโดยถ่ายทิ้งทั้งระบบแล้วเติมน้ำมันใหม่

-อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนในระบบบังคับเลี้ยว อาทิลูกหมาก ชำรุดเสียหาย

-ลมอ่อน-รถไม่ได้ศูนย์

-มอเตอร์หรือกล่องควบคุมชำรุดเสียหาย (เฉพาะในรถที่ใช้พวงมาลัยไฟฟ้า) สามารถสังเกตไฟเตือนรูปพวงมาลัยบนหน้าปัด  ควรรีบนำรถเข้าตรวจสอบโดยช่างผู้ชำนาญ
 
ก็ลองชั่งใจกันดูครับสำหรับรถยนต์ใหม่บางรุ่นที่มีระบบพวงมาลัยให้เลือกทั้งสองระบบ ส่วนรถเก่าที่เบื่อหน่ายปัญหารั่วซึมก็ไม่ต้องน้อยใจไปเพราะเดี๋ยวนี้ เชียงกง เค้าอิมพอร์ท ชุดพวงมาลัยไฟฟ้ามือสองสำหรับรถบางรุ่นที่เมืองนอกเค้าติดตั้งระบบไฟฟ้าจากโรงงานใช้กันกว่า 10 ปี แต่ไฉนพี่ไทยอย่างเรา ๆ กลับไม่มีใช้...

ขอบคุณข้อมูลจาก : บริษัท มาสเตอร์ มอเตอร์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด

อัพเดทข่าวสารผ่านทาง LINE
ไม่พลาดทุกโปรโมชั่นสุดคุ้มให้คุณได้รับทราบ
Add Friend ที่ ID : @masterusedcar

อื่นๆ

Auto News
22 สิงหาคม 2567
Auto News
18 กรกฎาคม 2567
Auto News
21 มิถุนายน 2567
News and Events
20 ตุลาคม 2566
การใช้คุกกี้ของเรา

เราใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ของเรา และเรามีความประสงค์จะใช้คุกกี้ทางเลือกเพื่อช่วยให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ของเรา โดยเราจะไม่ใช้คุกกี้ทางเลือกจนกว่าท่านจะอนุญาตให้เราเปิดใช้งานคุกกี้ดังกล่าว

ท่านสามารถศึกษารายละเอียดของการใช้คุกกี้ได้จากนโยบายการใช้คุกกี้ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้ ทั้งนี้ หากท่านกดยอมรับคุกกี้ทั้งหมด จะหมายความว่าท่านยินยอมให้เราบันทึกและใช้คุกกี้ทั้งหมดจากอุปกรณ์ที่ท่านใช้ในการเข้าเว็บไซต์ของเรา รวมถึงเพื่อทำให้การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บและการวิเคราะห์การใช้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมทางการตลาดของเรา

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด