ที่ตั้งสาขา
Menu
TH EN
094 678 2888

จำเป็นไหม ต้อง ผ้าเบรก ศูนย์

หมวดหมู่: Car Knowledge | 10 เมษายน 2561 | จำนวนเข้าชม (4,490)

ผ้าเบรกรถยนต์ในท้องตลาดมีให้เลือกหลายยี่ห้อ-ราคา-เกรด มีทั้งเกรดต่ำกว่า เทียบเท่า และดีกว่าศูนย์ โดยสามารถเลือกได้ตามความต้องการของผู้ขับขี่...

คุณ “ต้อย” จากปทุมธานี อีเมลล์เข้ามาสอบถามว่า ใช้รถฮอนด้า ซีวิค เอฟดี ปี 2006 นำรถเข้าศูนย์เช็คระยะช่างแจ้งว่าผ้าดิสเบรกหน้าบางใกล้หมดแต่เมื่อฟังราคาแล้วสูงเอาเรื่องอยู่ จึงอยากสอบถามว่าหากจะเปลี่ยนผ้าเบรกนอกศูนย์ จะสามารถหาที่มีคุณภาพเทียบเท่าของแท้และราคาถูกกว่าได้หรือไม่

จากข้อมูลข้างต้นขอตอบว่า ผ้าเบรกรถยนต์ในท้องตลาดนั้นมีให้เลือกหลายยี่ห้อ-ราคา-เกรด มีทั้งเกรดต่ำกว่า เทียบเท่า และดีกว่าศูนย์ โดยสามารถเลือกได้ตามความต้องการของผู้ขับขี่ ทั้งนี้ หากมีความรู้สึกพอใจกับผ้าดิสเบรกเดิมให้ลองสังเกตที่ด้านหลังผ้าดิสเบรกจะพบยี่ห้อ โดยสามารถหาซื้อผ้าดิสยี่ห้อเดิมตามร้านอะไหล่ซึ่งมีราคาถูกกว่าแต่ยังคงคุณภาพเทียบเท่าเดิมได้ อย่างไรก็ตามเพื่อความกระจ่าง “รู้ก่อนเหยียบ” ขอนำทุกท่านไปรู้จักกับเจ้าผ้าเบรกกัน

ผ้าเบรก เป็นอุปกรณ์สร้างแรงเสียดทาน โดยการกดเข้ากับดิสก์ หรือ ดรัมเบรก เดิมทีผ้าเบรกจะมีส่วนผสมที่สำคัญคือ "แร่ใยหินแอสเบสตอส" เนื่องจากมันมีราคาถูกเมื่อเบรกจะเป็นผงสีขาวไม่รู้สึกสกปรกที่กระทะล้อ และเสียงก็ยังเงียบ แต่ข้อเสียคือผงฝุ่นสีขาวดังกล่าวสามารถเข้าไปฝังตัวร่างกายมนุษย์และก่อให้เกิดมะเร็งในปอด ซ้ำยังเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม แถมยังทนความร้อนต่ำ จนเกิดอาการเบรกเฟดหรือลื่นเมื่อใช้งานหนัก ด้วยเหตุผลดังกล่าวในหลายประเทศจึงมีกฎหมายห้ามผลิต-นำเข้า-ใช้ ผ้าเบรกที่มีส่วนผสมของ "แร่ใยหินแอสเบสตอส"  ต่อมาจึงมีการพัฒนาผ้าเบรกอีกชนิดที่มีส่วนผสมของ แกรไฟต์และคาร์บอน โดยเมื่อเบรกจะมีผงสีน้ำตาล-ดำ มีคุณสมบัติทำงานได้ดีในความร้อนสูง
 
ผ้าเบรกที่มีอยู่ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม
 
1. ASBESTOS เป็นผ้าเบรกยุคเก่าที่ใช้แร่ใยหินเป็นองค์ประกอบหลัก เนื่องจากมีราคาถูก และให้แรงเสียดทานได้ดี ที่ อุณหภูมิต่ำๆ แต่มีอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจต่อสิ่งมีชีวิต
 
2. NAO (NON ASBESTOS ORGANIC) เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ใยสังเคราะห์ที่ไม่ใช่โลหะ ลักษณะเด่นคือน้ำหนักเบา ง่ายต่อการควบคุมไม่ให้เกิดฝุ่นหรือเสียง และให้แรงเสียดทานสูง แต่จะมีข้อจำกัดที่ส่วนมากจะต้องการส่วนผสมหลายชนิด การทนอุณหภูมิการใช้งานที่สูงมากๆไม่ค่อยดี คายความร้อน ได้ยากและที่สำคัญใยสังเคราะห์ยังคงมี อันตรายต่อระบบทางเดินหายใจอยู่บ้าง
 
3. Semi-Metallic เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ใยเหล็ก ลักษณะเด่นตรงมีความปลอดภัยสูงมากต่อระบบทางเดินหายใจ และมีความสามารถในการทนต่อการใช้งานที่อุณหภูมิสูงได้ดี แต่ยังมีข้อจำกัดในด้านการควบคุมไม่ให้เกิดเสียงดังและฝุ่น
 
4. Fully Metallic หรือ Metallic เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ผงเหล็กละเอียดมาขึ้นรูป ซึ่งผงเหล็กที่ใช้จะเป็นผงเหล็กพิเศษโดยจะมีคุณสมบัติของแรงเสียดทานอยู่ในตัว ในกลุ่มนี้มีลักษณะพิเศษสามารถทนต่ออุณหภูมิการใช้งานที่สูงมากได้
 
5. Advance Material เป็นผ้าเบรกที่ใชักลุ่มวัตถุดิบที่อยู่นอกเหนือจากที่ได้กล่าวไปแล้วโดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ที่มีคุณ ลักษณะพิเศษต่างๆตามความต้องการของผู้ใช้
 
เกรดผ้าเบรก
- เกรดมาตรฐาน (S-Standard) ใช้กับรถยนต์ทั่วไป ส่วนผสมของเนื้อผ้าเบรกนิ่มสร้างความฝืดได้ง่าย สามารถลดความเร็วได้ทันที ไม่ต้องการการอุ่นผ้าเบรก ทำงานได้ดีเฉพาะช่วงความเร็วต่ำ-ปานกลาง สาเหตุที่รถยนต์ทั่วไปถูกกำหนดให้ใช้ผ้าเบรกเกรดนี้ เพราะส่วนใหญ่มีการใช้ความเร็วไม่สูงนัก ซึ่งนับว่าเพียงพอในระดับหนึ่ง
 
- เกรดกลาง (M-Medium-Metal) ส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของโลหะอ่อน หรือวัสดุที่สามารถสร้างแรงเสียดทานเมื่อมีความร้องสูงได้ดี มีความแข็งปานกลาง สามารถรองรับการเบรกในช่วงความเร็วปานกลาง-สูงได้ดี ทนทานต่อความร้อนสะสมในการเบรกสูงขึ้นกว่าเกรดผ้าเบรกเกรดมาตรฐาน แต่ยังคงประสิทธิภาพการใช้งานช่วงความเร็วต่ำ-ปานกลางได้ดี ไม่ต้องอุ่นผ้าเบรก แต่มีราคาสูงกว่า ผ้าเบรกเกรดมาตรฐาน
 
- เกรดกึ่งแข่ง (R-Racing) เป็นผ้าเบรกเกรดพิเศษ เนื้อของผ้าเบรกมักจะมีการผสมของผงเนื้อโลหะไว้มาก การใช้งานในเมืองด้วยความเร็วต่ำจึงต้องมีการอุ่นผ้าเบรกให้ร้อนก่อน ซึ่งถูกผลิตเพื่อรองรับรถยนต์สมรรถนะสูง-รถแข่ง เหมาะกับการใช้ความเร็วสูง หรือมีความร้อนสะสมที่ผ้าเบรกจากการเบรกถี่ ๆ และรุนแรงจึงไม่ค่อยเหมาะกับรถยนต์ที่ใช้งานทั่วไป

เทคนิคควรรู้

การเลือกใช้ผ้าเบรก

- ในรถยนต์ทั่วไปแนะนำให้เลือกใช้ เกรดมาตรฐาน(S-Standard)  หรือ เกรดกลาง(M-Medium-Metal)  ที่มีขายอยู่สารพัดยี่ห้อ โดยเลือกให้เหมาะสมกับการขับขี่ของตัวเอง และที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงผ้าเบรกที่ส่วนผสมของ "แร่ใยหินแอสเบสตอส" ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและระบบทางเดินหายใจของสิ่งมีชีวิต
 
- ทุกครั้งหลังจากเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ ไม่ว่าท่านจะเจียร์จานเบรกหรือไม่ก็ตาม ควรจะมีการ Bedding-in เบรกซะก่อน โดยการเบรกแบบนิ่มนวล 200 กิโลเมตรแรก จุดประสงค์เพื่อให้ผ้าเบรกและตัวกับจานจับได้แนบสนิทและได้ประสิทธิภาพสูงสุดตลอดอายุการใช้งาน

ขอบคุณข้อมูลจาก: คอลัมน์ "รู้ก่อนเหยียบ" โดย บริษัท มาสเตอร์ มอเตอร์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด

อื่นๆ

Auto News
22 สิงหาคม 2567
Auto News
18 กรกฎาคม 2567
Auto News
21 มิถุนายน 2567
News and Events
20 ตุลาคม 2566
การใช้คุกกี้ของเรา

เราใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ของเรา และเรามีความประสงค์จะใช้คุกกี้ทางเลือกเพื่อช่วยให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ของเรา โดยเราจะไม่ใช้คุกกี้ทางเลือกจนกว่าท่านจะอนุญาตให้เราเปิดใช้งานคุกกี้ดังกล่าว

ท่านสามารถศึกษารายละเอียดของการใช้คุกกี้ได้จากนโยบายการใช้คุกกี้ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้ ทั้งนี้ หากท่านกดยอมรับคุกกี้ทั้งหมด จะหมายความว่าท่านยินยอมให้เราบันทึกและใช้คุกกี้ทั้งหมดจากอุปกรณ์ที่ท่านใช้ในการเข้าเว็บไซต์ของเรา รวมถึงเพื่อทำให้การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บและการวิเคราะห์การใช้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมทางการตลาดของเรา

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด